ตำนานไก่ชนเหลืงหางขาวพระนเรศวร


จากหนังสือพระมหากษัตริย์ไทย ของประกอบโชประการ 2519 หน้า 208 กล่าวไว้ดังนี้ วันหนึ่งได้มีการตีไก่ขึ้นระหว่างสมเด็จพระนเรศวรฯกับไก่ของมังชัยสิงห์ราช นัดดา (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา) ไก่ของ สมเด็จพระนเรศวรตีชนะไก่ของมังชัยสิงห์ มังชัยสิงห์ขัดเคืองพระทัยจึงตรัส ประชดประชันหยามหยันออกมาอย่างผู้ที่ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่าว่า “ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ” ถ้าไม่ใช่คนเหี้ยมหาญแกว่นกล้า ไม่ใช่คนสู้คนทุกสถานการณ์ก็คงจะได้แต่รับฟังหรือเจรจาโต้ตอบไปอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่สมเด็จพระนเรศวรฯไม่ใช่คนเช่นนั้น ทรงเป็นวีรขัติชาติที่ทรงสู้คนทุกสถานการณ์ จึงตรัสตอบโต้เป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า “ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่างวันนี้เลย ตีพนันเอาบ้านเอาเมืองกันก็ยังได้”
จากหนังสือของประยูร ทิศนาคะ : สมเด็จพระนเรศวร ฉบับออกอากาศ, พระนครหอสมุดกลาง 09,2513 ( 10 ) 459 หน้า 64 – 65 ได้บรรยายการชนกันอย่างละเอียดว่า “ขณะที่ไก่ของสมเด็จพระนเรศวรกับไก่ของพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีกำลังชนกันอยู่อย่างทรหด ต่างตัวต่างจิกตีฟาดแข้งแทงเดือยอย่างไม่ลดละ ฝ่ายทางเจ้าของไก่ คือ พระนเรศวรและพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีพร้อมทั้งข้าราชการ บริพาร ทั้งหลายที่เสมอนอก ก็เขม็งมองด้วยความตั้งอกตั้งใจและผู้ที่ปากเปราะหน่อย ก็ตีปีกร้องสนับสนุนไก่ข้างฝ่ายเจ้านายฝ่าย ของตนเป็นที่สนุกอย่างคาดไม่ถึง ขณะที่ไก่ฟาดแข้งกันอย่างอุตลุดพัลวัน สายตาผู้ดูทุกคู่ต่างก็เอาใจช่วยและแทบว่าจะไปตีแทนไก่ก็ว่าได้คล้ายกับว่าไก่ชนกันไม่ได้ดังใจตนเมื่อทั้งสองไก่พัวพันกันอยู่พักหนึ่ง ไก่ของพระมหาอุปราชก็มีอันล้มกลิ้งไปต่อหน้าต่อตา ไก่ชนของพระนเรศวรฯกระพือปีกอย่างทระนงและขันเสียงใสพระมหาอุปราชถึงสะอึกสะกดพระทัยไว้ไม่ได้” นับว่าเมืองไทยเรามีไก่ชนที่เก่งมาก จึงทำให้สมเด็จพระนเรศวรฯ เชื่อพระทัยอย่างแน่นอนว่าเมื่อชนต้องชนะไก่พม่า จึงกล้าท้าทายเดิมพันบ้านเมืองกัน
พงศาวดารยังกล่าวถึงการตีไก่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในพม่าโดย เฉพาะราชสำนักถือกันว่า“การตี ไก่เป็นกีฬาในวัง” บรรดาเชื้อพระวงศ์จึงนิยมเลี้ยงไก่ชนกันแทบทุกตำหนักจะเห็นได้ว่าการตีไก่เป็นที่โปรดปรานของเชื้อพระวงศ์ในวังพม่าจึงเชื่อได้ว่าคนไทยสมัยนั้นก็นิยมการตีไก่กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราชสมภพ ณ วังจันทน์ เมืองพิษณุโลกสองแคว พระองค์ทรงโปรดปรานการตีไก่มาแต่ทรงเยาว์วัยทรงใฝ่หาความรู้และเสาะหาไก่เก่งมาเลี้ยงไว้ด้วยเช่นกัน พ. ต.พิทักษ์ บัวเปรม (ข้าราชการบำนาญ) ท่านได้บันทึกไว้ว่าเมื่อปี 2500 ท่านได้อ่านตำราไก่ชนจากสมุดข่อย เชื่อแน่ว่าไก่ที่พระนเรศวรฯทรงนำไปชนกับพม่านั้นนำไปจากบ้าน “ บ้านกร่าง” เดิมเรียกบ้าน “บ้านหัวแท” ซึ่งอยู่ห่างจากตัว เมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 9 กิโลเมตรความเห็นท่านว่าตรงกับการศึกษาของ พล.ต.ต.ผดุง สิงหเสนีย์ ด้วย “บ้านกร่าง” อำเภอเมืองพิษณุโลก แดนไก่ชนนเรศวร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษไทยโบราณ ปัจจุบันพบซากปรักหักพังของวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์มายาวนาน ผู้คนในหมู่บ้านยังสืบทอดขนบธรรมเนียม มาตั้งแต่บรรพบุรุษคือมีงานเทศกาลต่างๆก็จะนัดชนไก่กัน ณ บ่อนประจำหมู่บ้าน “ลุงชิต เพชรอ่อน” อายุประมาณ 90 ปี ( พ.ศ.2535 ) อยู่บ้านกร่าง คนในหมู่บ้านบอกว่าเป็นนักเลงไก่ชน มาตั้งแต่เด็กสืบสายเลือดการชนไก่มาจากพ่อและปู่ ท่านเล่าว่าสมัยพ่อพูดถึงสมัยปู่เลี้ยงไก่ชน (ประมาณ 200 ปีมาแล้ว) บ้านกร่างเลี้ยงไก่มากเป็นไก่เก่งชนชนะชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ต้องการของคนต่างถิ่น ไก่ที่เลี้ยงเป็น “ไก่อูตัวใหญ่ สีเหลือง หางขาว” และปู่ได้พูดเสมอว่า “ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง” คำพูดนี่จึงติดปากคนบ้านกร่างมาจนทุกวันนี้
ไก่ชนของพระนเรศวรกำลังตีกับไก่ชนของมังสามเกียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น